Fatheroflove-thailand

เหตุใดพระเจ้าจึงทรงบัญชาให้ประหารชีวิตด้วยการขว้างหินให้ตาย (กันดารวิถี 15:32-36)

โพสต์ กันยายน 22, 2021 โดย Kevin J. Mullins ใน พระลักษณะ
1,037 มีคนดู

ขณะที่คนอิสราเอลอยู่ในถิ่นทุรกันดาร พวกเขาพบชายคนหนึ่งไปเก็บฟืนในวันสะบาโต พวกที่พบเขาเก็บฟืนก็พาเขามาหาโมเสส อาโรน และชุมนุมชนทั้งหมด เขาจึงขังคนนั้นไว้ เพราะยังไม่รู้ว่าจะทำกับเขาอย่างไร แล้วพระยาห์เวห์ตรัสกับโมเสสว่า “ชายคนนั้นจะต้องถูกลงโทษถึงตาย ชุมนุมชนทั้งหมดต้องเอาหินขว้างเขาให้ตายที่นอกค่าย” ชุมนุมชนทั้งหมดจึงพาเขามาที่นอกค่าย และเอาหินขว้างเขาจนตาย ตามที่พระยาห์เวห์ทรงบัญชาโมเสส (กันดารวิถี 15:32-36)

เพื่อที่จะเข้าใจข้อความข้างต้นนี้อย่างชัดเจน เหตุใดพระเจ้าจึงทรง “บัญชา” อย่างประโยคอันน่าสะพลึงกลัวเช่นนี้ "การขว้างหินให้ตาย" ให้เรามองย้อนกลับไปยังบริบทในพระคัมภีร์

ช่วงเวลาในหนังสืออพยพ จะขอเล่าคร่าว ๆ ว่า พระเจ้าได้ทรงมอบแผ่นศิลาพระโอวาทสองแผ่นที่จารึกด้วยธรรมบัญญติ 10 ประการแก่โมเสส แผ่นศิลาทั้งสองแผ่นและอักษรที่จารึกนั้นเป็นพระราชกิจของพระเจ้า หลังจากนั้นไม่นาน โทสะของโมเสสก็เดือดพลุ่งขึ้นต่อคนอิสราเอล ท่านโยนแผ่นศิลาในมือทิ้งตกแตกเสีย ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า จงสกัดศิลาสองแผ่นให้เหมือนเดิม แล้วพระองค์จะทรงสลักบนศิลานั้นด้วยถ้อยคำที่อยู่ในศิลาชุดเดิมที่เขาทำแตก เหตุฉะนั้น เราจึงมีศิลาสองแผ่นที่สกัดโดยโมเสส (มนุษย์) และสลักตัวอักษรโดยพระเจ้า สิ่งนี้ได้สำแดงให้เห็นว่า พระบัญญัติ (พระบัญชา) มีวัตถุประสงค์อยู่ 2 ประการที่ราชกิจเหมือนภาพสะท้อน ซึ่งได้สะท้อนถึงพระลักษณะของพระเจ้าและคุณลักษณะของมนุษยชาติที่ตกสู่บาป  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ความคิดในพันธสัญญาเดิมที่มนุษย์พยายามทำงานของพระเจ้าด้วยตัวพวกเขาเองแทนที่จะยอมปล่อยวางให้พระเจ้าทรงราชกิจงานของพระองค์ภายในตัวเรา

ดั่งภาพสะท้อนอย่าง โทราห์ (ธรรมบัญญัติ หรือ พระบัญญัติ) ไม่เพียงแค่เปิดเผยถึงพระลักษณะอุปนิสัยของพระเจ้า แต่ยังแสดงถึงมนุษย์ที่ตกสู่บาปเช่นกัน อัครสาวกเปาโลกล่าวในหนังสือโรม 7:7-10 ว่า “แต่ว่าถ้าไม่มีธรรมบัญญติแล้ว ข้าพเจ้าก็คงไม่รู้จักบาป” “แต่บาปได้ฉวยโอกาสใช้ข้อบัญญัตินั้น ทำให้ความโลภทุกอย่างเกิดขึ้นในตัวข้าพเจ้า เพราะว่าถ้าไม่มีธรรมบัญญัติ บาปเป็นสิ่งที่ตายแล้ว” “เมื่อก่อนข้าพเจ้าดำรงชีวิตอยู่นอกเหนือธรรมบัญญัติ แต่เมื่อธรรมบัญญัตินั้นมา บาปก็กลับมีชีวิต” และสรุปได้ว่า “และข้าพเจ้าก็ตาย บัญญัติซึ่งมีไว้เพื่อชีวิต ข้าพเจ้าพบว่านำไปสู่ความตาย” เมื่อเราอ่านข้อพระคัมภีร์ข้างต้นนี้ตั้งแต่ต้นจนจบอย่างละเอียดแล้ว เราจะสังเกตว่า พระเจ้าทรงบัญชาเนื่องจากความปราถนาที่ตกสู่บาปของมนุษย์ พระองค์ทรงกระทำเช่นนี้เพราะว่าพระองค์ไม่อย่าจะสอดแทรกอิสรภาพในการเลือกของมนุษย์ “…และโดยอาศัยพระบัญญัตินั้น บาปก็ปรากฏว่าชั่วร้ายยิ่งนัก” (หนังสือโรม 7:13)

มีหลายคนสับสนความรักของพระเจ้าเมื่อพวกเขาอ่านธรรมบัญญัติ คือที่ว่าให้ประชาชนของพระองค์ไป “ทำลาย”  ผู้อยู่อาศัยในดินแดนอื่น ๆ รวมทั้งสตรีและเด็ก ๆ มันดูชั่วร้ายและขัดต่อพระบัญชาของพระเจ้าว่า "อย่าฆ่า" บางคนพยายามที่จะปกป้องสิ่งนี้โดยกล่าวว่าผู้คนที่ถูกสังหารต้องตัดขาดเหมือนมะเร็งเพื่อที่จะช่วยประชากรของพระองค์ให้รอด แต่นี่ไม่ใช่คำอธิบายที่ดี นั่นความหมายว่า พระเจ้าทรงประสงค์ที่บางคนจะต้องพินาศเมื่อพระคัมภีร์กล่าวตรงกันข้าม (ให้มาดูหนังสือ 2 เปโตร 3:9 ได้กล่าวว่า “พระองค์ไม่ทรงประสงค์ให้ใครพินาศเลย แต่ทรงประสงค์ให้ทุกคนกลับใจใหม่” – แล้วจะสั่งฆ่าทำไม) พระบัญชาในการ “ไปทำลาย” เป็นข้อสะท้อนของจิตใจและลักษณะนิสัยของเรา พระเจ้ากำลังทรงเปิดเผยบาปของประชาชนของพระองค์ออกมาเหมือนกับทรงเปิดเผยบาปของผู้คนที่ไม่เชื่อพระองค์ออกมาเช่นกัน พระองค์กำลังทรงอนุญาตบาปให้ทำลายความบาป กลับมาที่คำถามอีกครั้ง ทำไมพระเจ้าทรงกระทำเช่นนี้ ในหนังสือโรม 5:20 ได้กล่าวดังนี้ว่า

“เมื่อมีธรรมบัญญัติ ก็ทำให้มีการละเมิดธรรมบัญญัติปรากฏมากขึ้น แต่ที่ใดมีบาปปรากฏมากขึ้น ที่นั้นพระคุณก็จะไพบูลย์ยิ่งขึ้น”

ในหนังสือ ชื่อเล่ม Cross Examined & Cross Encountered หรือ การตรวจสอบไม้กางเขน & การเผชิญไม้กางเขน หน้าที่ 28 ซึ่งเขียนโดย เอเดรียน อีเบนส์ ได้ให้คำอธิบายดังต่อไปนี้ว่า

“เมื่อมนุษย์มีบาปในใจของพวกเขา พระราชกิจแรกของพระเจ้าคือ การเผยถึงความบาปของพวกเขา จิตใจมนุษย์นั้นมีความสามารถในการโกหกตัวเอง ซึ่งมืดบอดในการเห็นถึงความบาป เมื่อเราอยู่นอกขอบเขตพระประสงค์ของพระเจ้า พระองค์จะทรงบัญชาสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องการที่จะให้ผลลัพธ์ของพวกมันเติบโตและนั่นทำให้เราเริ่มเห็นว่าเหตุใดความต้องการของเราจึงเป็นสิ่งชั่วร้ายหรือบาป แต่พระองค์ไม่ทรงกระทำสิ่งเหล่านี้โดยปราศจากโอกาสสำหรับมนุษย์ที่จะรู้ว่าสิ่งเหล่านี้มันผิด พระบัญชาต่าง ๆ ถูกตีความโดยมนุษย์ว่า พระเจ้าทรงต้องการให้มันเกิดขึ้นเพราะว่ามนุษย์มืดบอดต่อความบาปของตน มนุษย์เลือกที่จะเชื่ออย่างนั้นเพราะมันทำให้พระเจ้าทรงดูเหมือนพวกเขา และนั่นทำให้พวกเขาคิดว่าสิ่งที่พวกเขาปรารถนาก็ไม่ผิด [ให้ดูในหนังสือสดุดี 50:16-21]”

แต่พระเจ้าตรัสกับคนอธรรมว่า "เจ้ามีสิทธิ์อะไรมาท่องกฎเกณฑ์ของเรา หรือรับพันธสัญญาของเราด้วยปากของเจ้า เพราะเจ้าเกลียดวินัย และเจ้าเหวี่ยงคำของเราไว้ข้างหลังเจ้า เมื่อเจ้าเห็นขโมย เจ้าก็คบเขา และเจ้าเข้าสังคมกับคนล่วงประเวณี  เจ้าปล่อยปากของเจ้าให้พูดชั่ว และลิ้นของเจ้าปั้นการหลอกลวง เจ้านั่งพูดใส่ร้ายพี่น้องของเจ้า เจ้านินทาเขา เจ้าได้ทำสิ่งเหล่านี้ แล้วเราก็นิ่งเงียบ เจ้าคิดว่าเราเป็นเหมือนเจ้า แต่เราจะตำหนิเจ้า และกล่าวโทษเจ้า"

ตอนที่ชายเก็บฟืนในวันสะบาโต ความจริงแล้วคนอิสราเอลควรเข้าไปหาเขาและถามเหตุผลของเขาว่าทำไมเขาจึงทำเช่นนี้แทนที่จะประณามและตัดสินเขา จากนั้นหากพบว่าเขาไม่เชื่อฟังแผนการของพระเจ้า ก็จงสั่งสอนเขาให้ไปในทางของพระเจ้าเพื่อนำการคืนดีมาสู่พระองค์ แต่เนื่องจากพวกเขามีความคิดที่ประณาม พวกเขาจึงจองหอง และพระเจ้าได้ทรงบัญชาตามความปรารถนาของพวกเขาตามมุมมองที่ผิดเพี้ยนของพวกเขาเองที่เกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรม สิ่งนี้จะทำให้ความบาปของพวกเขาเริ่มทวีมากยิ่งขึ้น และหวังว่าพวกเขาจะกลับใจเพื่อแสวงหาการกลับคืนดีสู่พระองค์ - (เป็นการเชิญชวนให้ใคร่ครวญคิดถึง ข้อคิดสำหรับข้อพระคัมภีร์หลักของบทความนี้ หนังสือกันดารวิถี 15:32-36)

พระเยซูคริสต์ทรงตอบสนองอย่างไรต่อสถานการณ์เช่นนี้

วิธีที่พระเยซูผู้ทรงเป็นแบบอย่างอันสมบูรณ์แบบของเราทรงตอบสนองต่อสถานการณ์เช่นนี้ คือ เราสามารถดูได้ในหนังสือยอห์น 8:2-19 ดังนั้นจะขออธิบายคร่าว ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์นี้ในหนังสือที่กล่าวข้างต้นดังนี้ “พวกธรรมาจารย์และฟาริสีแทนที่จะนำพวกผู้นำที่ล่วงละเมิดวันสะบาโตมาหาพระองค์ แต่พวกเขากลับนำผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าล่วงประเวณีมาหาพระองค์ พวกเขากระทำเช่นนี้เพื่อทดลองพระองค์โดยหวังจะหาเหตุฟ้องพระเยซูในเรื่องของธรรมบัญญัติของพระเจ้า (ข้อที่ 6 ซึ่งกล่าวว่า อย่าฆ่าคน) อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงเผยถึง (เพิ่มขยาย) ความบาปของพวกเขาออกมาโดยการน้อมพระกายลงเอานิ้วเขียนที่ดิน (ดูเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ในหนังสือเยเรมีย์ 17:13) และพระเยซูตรัสสั่งพวกเขาว่า 'ใครในพวกท่านไม่มีบาป ให้เอาหินขว้างนางก่อนเป็นคนแรก' ”

ในที่นี้เราได้เห็นว่าผู้ทรงตั้งธรรมบัญญัติ ได้บอกคุณสมบัติของผู้ที่สามารถขว้างหินได้ พวกเขาจะต้องปราศจากบาป อยากถามว่า การลงโทษของพันธสัญญาเดิมสามารถดําเนินการได้อย่างชอบธรรมได้ไหมหากผู้ที่ประหารโทษต้องปราศจากบาป มีผู้ใดมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทําการกระทําเช่นนี้ได้หรือ เราสามารถดูคำตอบได้อย่างชัดเจนได้ในหนังสือโรม 3:23 ซึ่งกล่าวไว้ว่า “เพราะว่าทุกคนทำบาป และเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า”

เมื่อพระเยซูทรงพิพากษาลงโทษตามธรรมบัญญัติ สิ่งที่เขียนบนศิลาทำให้นางหมดหวังที่จะมีชีวิต เธอยอมรับประโยคนั้น แต่พระเยซูก็ทรงรู้ใจเธอและวิธีที่คนเหล่านี้ใช้เธอ และรู้ว่าเธอพร้อมที่จะยอมรับศิลาแห่งความจริง

“และได้ดื่มน้ำฝ่ายจิตวิญญาณเดียวกันทุกคน เพราะว่าพวกเขาได้ดื่มจากพระศิลาฝ่ายจิตวิญญาณที่ติดตามเขาไป พระศิลานั้นคือพระคริสต์” (1 โครินธ์ 10:4)

“พระเยซูตรัสว่า “ท่านทั้งหลายยังไม่ได้อ่านในพระคัมภีร์หรือ ที่ว่า ‘ศิลาที่บรรดาช่างก่อสร้างทิ้งแล้ว กลับกลายเป็นศิลามุมเอก สิ่งนี้เป็นมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า เป็นสิ่งอัศจรรย์ประจักษ์แก่ตาของเรา’ ใครล้มทับศิลานี้ คนนั้นจะต้องแตกหักไป และศิลานั้นจะตกทับใคร คนนั้นจะแหลกละเอียดไป” (มัทธิว 21:42,44)

ในการตกลงบนศิลาซึ่งเป็นพระเยซูคริสต์ ผู้หญิงคนนั้นก็ถูกขว้างด้วยหินตามที่พระคริสต์ได้ทรงเตรียมการเอาไว้ เธอได้ล้มเลิกความหวังทั้งหมดที่เธอพยายามคิดที่จะช่วยชีวิตของเธอด้วยตัวเธอเองและฝากความหวังของเธอทั้งหมดไปที่พระเมตตาคุณของพระคริสต์ การขว้างหินที่พระคริสต์ทรงเตรียมเอาไว้คือ การที่คนบาปควรรู้ถึงบาปตัวเองและแสวงหาพระเมตตาคุณจากเบื้องบน

พวกฟาริสีเหล่านี้ต่างจากคนอิสราเอลในสมัยโบราณ พวกเขารู้ถึงบาปของตัวเองและเลือกที่จะไม่ประณามและเอาหินขว้างผู้หญิงคนนั้น จากนั้นพระเยซูยืดพระกายขึ้นและตรัสกับนางว่า “เราก็ไม่เอาโทษเจ้าเหมือนกัน จงไปเถอะ และจากนี้ไปอย่าทำบาปอีก” นี่เป็นผลลัพธ์เดียวกันกับที่พระเจ้าทรงแสวงหา เมื่อผู้กล่าวหาหยิบก้อนหินเพื่อประหารผู้กระทำผิดในวันสะบาโต พระเยซูไม่ได้ทรงยกเลิกพระบัญชาสอนสั่งเรื่องการล่วงประเวณี แต่กำลังทรงแสดงเจตนาที่แท้จริงของกฎเกณฑ์แห่งการขว้างหิน

แนวคิดการขว้างหินมาจากอียีปต์

บทความในเว็บไซต์ theblaze.com เรื่อง การตรวจสอบข้อเท็จจริง ในคำถามที่ว่า พระคัมภีร์ยอมให้มีการขว้างหินจริงหรือไม่ พวกเขาได้ถาม รับบี อารีห์ สเปโร เกี่ยวกับกฎเกณฑ์นี้

“... เมื่อพูดถึงคำบัญชาในพระคัมภีร์หรือประเด็นต่าง ๆ เช่น การขว้างหิน แรบไบ กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือต้องดูหนังสือศักดิ์สิทธิ์ผ่านเลนส์เฉพาะ 'เป็นหน้าที่ของเราที่จะแบ่งเขตระหว่างสิ่งที่พระเจ้าทรงตั้งใจให้เป็นนิรันดร์กับสิ่งที่จำเป็นในช่วงเวลาชั่วคราวที่จะค่อย ๆ เปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น การถวายสัตวบูชา ... สิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และการตีสอนและข้อจำกัดทางเพศเป็นนิรันดร์อย่างไม่ต้องสงสัย เช่นเดียวกับวันสะบาโตและความบริสุทธิ์ … 'แนวทางบางอย่างพระเจ้าไม่ได้ทรงตั้งใจให้คงอยู่ถาวร แต่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและความคิดของสังคมดั้งเดิมที่องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ตรัสเอาไว้ วัฒนธรรมจึงส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อวิธีการปฏิบัติเหล่านี้และได้นำมาใช้' ” (พระเจ้าทรงสื่อสารกับเราในที่ที่เราอยู่)

แนวความคิดของคนอิสราเอล เกี่ยวกับการขว้างหินในสมัยของโมเสสไม่ได้มาจากพระเจ้า แต่ความจริงแล้วมาจากอียิปต์ ในหนังสืออพยพ 8:25-26 กล่าวว่า โมเสสทูลฟาโรห์ว่า “ถ้าพวกข้าพระบาทถวายสัตวบูชาต่อหน้าพวกเขา 'พวกเขาจะไม่เอาก้อนหินขว้างหรือ' ”

คนอิสราเอลเองถูกล้างสมองในรูปแบบความยุติธรรมของวัฒนธรรมอียิปต์เป็นเวลา 100 ปี ในขณะที่เป็นทาส ถึงขนาดพวกเขาปรารถนาจะเอาหินขว้างโมเสส

“...แต่ประชาชนกระหายน้ำ ณ ที่นั้น จึงบ่นต่อโมเสสว่า “ทำไมท่านจึงพาเราทั้งบุตรและฝูงปศุสัตว์ของเราออกจากอียิปต์มาเพื่อให้อดน้ำตาย” โมเสสจึงร้องทูลพระยาห์เวห์ว่า “ข้าพระองค์จะทำอย่างไรกับชนชาตินี้ดี พวกเขาเกือบเอาหินขว้างข้าพระองค์ให้ตายอยู่แล้ว” (อพยพ 17:3-4)

 เหมือนอย่างที่พระเยซูได้ตรัสถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ในใจของเหล่าอัครสาวก “สุนัขต่างชาติ” เพื่อทรงเปิดเผยให้เห็นความอคติทางเชื้อชาติของพวกเขา (หนังสือมัทธิว 15:26) พวกสาวกไม่คิดว่าพระเยซูเสด็จมาเพื่อช่วยคนต่างชาติ และพระเจ้าทรงต้องการให้พวกเขากลับใจจากความเชื่อที่ผิดนั้น ในทางเดียวกันพระเจ้ากำลังตรัสถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ในใจลึก ๆ ของคนอิสราเอลโดยหวังว่าการทรงบัญชาการขว้างหินจะทำให้ดวงตาของพวกเขาสว่างมากขึ้น เพื่อที่พวกเขาจะได้มองเห็นถึงบาปของตัวเอง และให้เข้าหาพระเมตตาคุณของพระเจ้าแทน เพื่อที่จะรับการอภัยโทษจากพระองค์และเดินตามรอยพระคุณของพระองค์ สิ่งที่พวกเขาต้องจำ คือ ได้ปรากฎในหนังสือยากอบ 2:13 ซึ่งกล่าวไว้ว่า “เพราะว่าการพิพากษาย่อมไม่เมตตาต่อคนที่ไม่แสดงความเมตตา ความเมตตาย่อมมีชัยเหนือการพิพากษา” แต่พวกเขาไม่เคยเข้าใจ และคนรุ่นนั้นก็ตายในถิ่นทุรกันดารทั้งสิ้น

พระเจ้าตรัสกับพวกเขาว่า “เราจะทำกับพวกเจ้าตามสิ่งที่เจ้าทั้งหลายพูดเข้าหูของเราฉันนั้น” (หนังสือกันดารวิถี 14:28) ซึ่งแสดงให้เห็นอีกครั้งว่าการพิพากษาที่ตกอยู่กับมนุษย์ จะเป็นคำพิพากษาที่มนุษย์ตัดสินด้วยตัวเขาเอง พระเจ้าได้ตรัสว่า....

“คนหนึ่งคนใดในพงศ์พันธุ์อิสราเอลที่ตั้งรูปเคารพของเขาไว้ในใจ ...เราคือยาห์เวห์จะตอบสนองเขาที่มาด้วยรูปเคารพมากมายของเขานั้น เพื่อเราจะได้ยึดจิตใจของพงศ์พันธุ์อิสราเอลทุกคนผู้เหินห่างจากเราเนื่องด้วยรูปเคารพของเขา” (เอเสเคียล 14:4-5)

ข้อความข้างต้นนี้อธิบายได้ชัดเจนว่าพระเจ้าจะทรงสะท้อนความคิดของเราเองกลับมาหาเรา เพื่อเผยถึงบาปของเราและให้เราเห็นถึงบาปที่อยู่ลึกในใจของเรา พระองค์ไม่ทรงมีเจตนาเพื่อประณามเรา แต่เพื่อในที่สุดเราจะได้เห็นความคิดและการกระทำที่พินาศของเรา และให้เราหันไปหาพระองค์เพื่อรับการบรรเทาและฟื้นฟู

มีครั้งหนึ่ง พวกฟาริสีมาทดลองพระองค์ในพระบัญญัติเกี่ยวกับการหย่าร้าง ซึ่งได้เผยในหนังสือมัทธิว 19:3-8 กล่าวดังนี้ว่า

“พวกฟาริสีมาทดลองพระองค์โดยทูลถามว่า “ผู้ชายจะหย่าภรรยาของเขาไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามธรรมบัญญัติหรือไม่” พระองค์ตรัสตอบว่า “ท่านทั้งหลายไม่ได้อ่านหรือว่า พระผู้ทรงสร้างมนุษย์แต่เดิมนั้นทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง และตรัสว่า ‘เพราะเหตุนี้ ผู้ชายจะละบิดามารดาไปผูกพันอยู่กับภรรยา และเขาทั้งสองจะเป็นเนื้อเดียวกัน’ ด้วยเหตุนี้เขาทั้งสองจึงไม่เป็นสองต่อไป แต่เป็นเนื้ออันเดียวกัน เพราะฉะนั้นสิ่งซึ่งพระเจ้าทรงผูกพันกันแล้ว อย่าให้มนุษย์ทำให้พรากจากกันเลย” พวกเขาจึงถามพระองค์ว่า “ถ้าอย่างนั้นทำไมโมเสสสั่งให้ทำหนังสือหย่าให้ภรรยา แล้วก็หย่าได้” พระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า “โมเสสยอมให้ท่านทั้งหลายหย่าภรรยา เพราะใจของท่านแข็งกระด้าง แต่เมื่อเดิมไม่ได้เป็นอย่างนั้น

เราสามารถเห็นได้ว่าธรรมบัญญัติเกี่ยวกับการหย่าร้างได้บัญญัติขึ้นมา เพราะใจของมนุษย์แข็งกระด้าง พระเยซูตรัสว่า ในแรกเริ่มหรือในปฐมกาลนั้นไม่มีการหย่าร้าง ไม่มีการขว้างหิน และไม่มีคำสั่งให้ทำสงครามแต่ทุกอย่างเกิดขึ้นเป็นเพราะว่าบาปที่มนุษย์สร้าง นั่นคือเหตุผลที่พระเจ้าตรัสว่า “เราได้ให้กฎเกณฑ์ที่เลวแก่พวกเขาและให้กฎหมายที่ไม่ทำให้พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้เมื่อทำตาม” (เอเสเคียล 20:25)

เมื่อมนุษย์คู่แรกในพระคัมภีร์กินผลไม้จากต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่ว และยอมรับหลักการของอาณาจักรซาตานในความคิดเรื่องกฎเกณฑ์และความถูกต้อง ระบบหลักความถูกต้องของซาตานนั้นไม่มีความเมตตาปรานีใด ๆ ความบาปในแง่ของพระเจ้านั้น หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์หรือขอบเขตแบบแผนของพระองค์สำหรับชีวิต ในทางตรงกันข้าม ความบาปในแง่ของซาตาน หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่ไม่เห็นชอบกับความคิดของซาตาน เพราะมนุษย์ตกอยู่ในความบาป เราจึงสืบทอดแนวความคิดนี้มาจากซาตานว่า บรรดาผู้ที่ไม่เห็นชอบกับเราจะต้องถูกลงโทษอย่างไร้ความเมตตาปรานีตามความผิดของเขา นี่คือเหตุผลว่าทำไมอิสราเอลจึงเต็มใจยอมรับอิทธิพลของการขว้างหินของอียิปต์ มันสะท้อนถึงจิตใจที่ไร้ความเมตตาของพวกเขา  

ท้ายนี้ ให้ลองถามใจท่านดูว่า ท่านจะใช้ชีวิตตามมาตรฐานของพระเจ้าไหม มันเป็นคำถามที่น่าท้าทายและชวนให้เราใคร่ครวญคิด แต่มีคำกล่าวคร่าว ๆ ในหนังสือมัทธิว 7:1-2 ว่า “ท่านทั้งหลายจะตวงให้ผู้อื่นด้วยทะนานอันใด พระเจ้าจะทรงตวงให้พวกท่านด้วยทะนานอันนั้น”

อาเมน

https://lastmessageofmercy.com/article/view/numbers-1532-36-why-did-god-command-the-horrific-death-sentence-of